เมนู

อรรถกถาวิปัสสีสูตรที่ 4



ในวิปัสสีสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า วิปสฺสิสฺส ความว่า ได้ยินว่า ดวงตาทั้งหลายของโลกิย-
มนุษย์ผู้มองดูอะไร ๆ ย่อมกลอกไปมา เพราะประสาทตาอันเกิดแต่กรรม
ที่บังเกิดแต่กรรมเล็กน้อย มีกำลังอ่อนเช่นใด แต่ดวงตาของพระโพธิสัตว์
นั้น หากลอกเช่นนั้นไม่ เพราะประสาทตาอันเกิดแต่กรรม บังเกิดแต่กรรม
มีกำลังมีกำลังมากพระองค์จึงมองดูด้วยดวงตาที่ไม่กลอกไม่ก็พริบนั่นแล
เหมือนเทวดาในดาวดึงส์ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระกุมาร
เพ่งดูโดยไม่กะพริบ เพราะฉะนั้น พระวิปัสสีกุมารนั้นจึงเกิดสมัญญาว่า
วิปัสสี วิปัสสี นั่นแล. จริงอยู่ ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ ชื่อว่า วิปัสสี
เพราะเห็นความบริสุทธิ์ อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า วิปัสสี เพราะเห็นด้วยทั้ง
ดวงตาที่เบิก. ก็ในที่นี้ดวงตาของพระโพธิสัตว์ทั้งหมด ผู้เกิดใน
ภพสุดท้ายย่อมไม่กลอก เพราะประสาทที่เกิดแต่กรรมอันมีกำลัง มีกำลัง
แรง. ก็พระโพธิสัตว์นั้น ย่อมได้ชื่อด้วยเหตุนั้นนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า วิปัสสี เพราะพิจารณาเห็น อธิบายว่า เพราะเลือกเฟ้นจึงเห็น.
ได้ยินว่า วันหนึ่ง อำมาตย์ทั้งหลายนำพระมหาบุรุษผู้ประดับตกแต่ง
พระวรกายแล้วมาวางไว้บนพระเพลาของพระราชาผู้ประทับนั่งพิจารณา
คดีอยู่ในศาล เมื่อพระราชาทรงพอพระทัยที่ได้มหาบุรุษนั้นอยู่บนพระ
เพลา อำมาตย์ทั้งหลายได้กระทำเจ้าของทรัพย์ไม่ให้เป็นเจ้าของทรัพย์.
พระโพธิสัตว์ทรงเปล่งเสียงแสดงความไม่พอพระทัย. พระราชาตรัสว่า
พวกท่านพิจารณาทบทวนดูที่หรือว่าเรื่องนั้นเป็นอย่างไร เรื่องนี้เป็น
เป็นอย่างไร. พวกอำมาตย์เมื่อพิจารณาทบทวน ก็ไม่เห็นกรณีเป็นอย่าง

อื่นจึงคิดว่า ชะรอยว่าที่ทำไปแล้วอย่างนี้ จักเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบ.
จึงทำผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ให้เป็นเข้าของทรัพย์อีก เมื่อทดลองว่ากุมารจะรู้
หรือหนอจึงทำอย่างนี้. จึงทำเจ้าของทรัพย์ให้ไม่เป็นเจ้าของทรัพย์อีก.
ครั้งนั้นพระราชาทรงดำริว่า พระมหาบุรุษคงจะรู้ ตั้งแต่นั้นมาจึง
เป็นผู้ไม่สะเพร่า. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กุมาร
ใคร่ครวญแล้วใคร่ครวญเล่า จึงรู้คดีเพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย
พระกุมารนั้นจึงเกิดพระนามโดยประมาณยิ่งว่า วิปัสสี นั้นแล.
บทว่า ภควโต แปลว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยภาคยะ. บทว่า อรหโต
ได้แก่ผู้มีพระนามอันเกิดขึ้นโดยคุณอย่างนี้ว่า ชื่อว่า อรหา เพราะ
กำจัดกิเลสเพียงดังข้าศึกมีราคะเป็นต้นเสียได้ เพราะทรงหักกำแห่งสังสาร-
จักร หรือเพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยทั้งหลาย. บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ได้แก่ผู้ตรัสรู้สัจจะ 4 โดยความเพียรของบุรุษ โดยพระองค์เอง เฉพาะ
พระองค์ โดยชอบ โดยนัย โดยเหตุ. บทว่า ปุพฺเพว สมฺโพธา
ความว่า ญาณในมรรค 4 ท่านเรียกว่า สัมโพธะ ตรัสรู้พร้อม, ก่อนแต่
การตรัสรู้นั้นแล. บทว่า โพธิ ในคำว่า โพธิสตฺตสฺเสว สโต นี้
ได้แก่ญาณ, สัตว์ผู้ตรัสรู้ ชื่อว่าโพธิสัตว์ อธิบายว่า ผู้มีญาณ คือผู้มี
ปัญญา ชื่อว่าบัณฑิต. จริงอยู่ สัตว์นั้น เป็นบัณฑิต จำเดิมแต่ทรงมี
อภินิหาร แทบบาทมูลแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ใช่อันธพาล เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า พระโพธิสัตว์ อนึ่ง ชื่อว่าโพธิสัตว์ แม้เพราะเป็นสัตว์
ผู้จะเบิกบาน โดยอรรถวิเคราะห์ว่า บำเพ็ญพระบารมี แล้วจักเบิกบาน
โดยหาอันตรายมิได้อย่างแน่นอน เพราะได้คำพยากรณ์ในสำนักของพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย เปรียบเหมือนดอกปทุม ที่โผล่ขึ้นจากน้ำตั้งอยู่ แก่ได้

ที่แล้วจักบานโดยสัมผัสแสงอาทิตย์อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น ท่านจึง
เรียกว่า ดอกปทุมบาน. อนึ่ง สัตว์ปรารถนาโพธิกล่าวคือญาณในมรรค 4
ปฏิบัติอยู่ เหตุนั้น ผู้ที่ยังติดอยู่ในโพธิจึงชื่อว่า โพธิสัตว์ ดังนี้ก็มี. เมื่อ
พระโพธิสัตว์มีอยู่โดยพระนามที่เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้. บทว่า กิจฺฉํ
แปลว่า ลำบาก. บทว่า อาปนฺโน แปลว่า ถึงแล้วเนือง ๆ. ท่านกล่าว
อธิบายไว้ว่า น่าอนาถ สัตว์โลกนี้ ถึงความลำบากเนือง ๆ. บทว่า
จวติ จ อุปปชฺชติ จ นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิไป ๆ มา ๆ.
บทว่า นิสฺสรณํ ได้แก่พระนิพพาน. จริงอยู่ พระนิพพานนั้น ท่าน
เรียกว่านิสสรณะ เพราะสลัดออกจากทุกข์คือชราและมรณะ.
บทว่า
กุทาสฺสุ นาม ได้แก่ในกาลไหน ๆ แล.
บทว่า โยนิโสมนสิการา ได้แก่โดยการใส่ใจโดยอุบาย คือการ1
ใส่ใจครั้งแรก. บทว่า อหุ ปญฺญาย อภิสมโย ความว่า ได้แก่การตรัสรู้
คือความประกอบชอบซึ่งเหตุแห่งชราและมรณะด้วยปัญญา อธิบายว่า
พระองค์เห็นดังนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ. อีกอย่าง
หนึ่ง บทว่า โยนิโสมนสิการา อหุ ปญฺญาย ได้แก่ได้ตรัสรู้ ด้วย
โยนิโสมนสิการ และด้วยปัญญา. อธิบายว่า ได้แทงตลอดเหตุแห่งชรา
และมรณะอย่างนี้ว่า เมื่อความเกิดมีอยู่แล ชราและมรณะก็มี. ในบท
ทั้งปวงก็นัยนี้.
บทว่า อิติ หิทํ เท่ากับ เอวมิทํ สิ่งนี้มีด้วยประการฉะนี้. ด้วย
บทว่า สมุทโย นี้ ท่านประมวลการเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นต้นแสดงใน
ฐานะ 11. บทว่า ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ความว่า ในธรรมที่ไม่เคย

1. พม่า. ปถมนสิกาเรน คือการมนสิการตามคลองธรรม.

สดับมาก่อนแต่นี้ อย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ความเกิด
ขึ้นของสังขารย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยดังนี้ หรือในอริยสัจธรรม 4.
บทว่า จกฺขุํ เป็นต้นเป็นไวพจน์ของญาณนั่นเอง. จริงอยู่ ในที่นี้ ญาณ
นั่นแลท่านกล่าวว่า จักขุ เพราะอรรถว่าเห็น, กล่าวว่าญาณ เพราะ
อรรถว่า รู้, กล่าวว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ชัด, กล่าวว่า
วิชชา เพราะอรรถว่า แทงตลอด, กล่าวว่า อาโลกะ เพราะอรรถว่า
สว่าง. ก็ญาณนี้นั้น พึงทราบว่า ท่านชี้แจงว่าเจือทั้งโลกิยะและโลกุตระ
ในสัจจะ 4. แม้ในนิโรธวาระ พึงทราบความโดยนัยนี้แล.

จบอรรถกถาวิปัสสีสูตรที่ 4

5. สิขีสูตรที่ 9. กัสสปสูตร



ว่าด้วยพระปริวิตกของพระพุทธเจ้า 7 องค์



[25] พระปริวิตกของพระพุทธเจ้าแม้ทั้ง 7 พระองค์ ก็พึงให้
พิสดารเหมือนอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าสิขี. . .ทรงพระนามว่าเวสสภู. . .ทรง
พระนามว่ากกุสันธ. . . ทรงพระนามว่าโกนาคมนะ. . .ทรงพระนาม
ว่ากัสสปะ1.


10. มหาศักยมุนีโคตมสูตร

2

ว่าด้วยพระปริวตกของพระบรมโพธิสัตว์



[26] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ก่อน
ตรัสรู้ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า โลกนี้ถึงความยากแล้วหนอ
ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ และอุปบัติ และเมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ยังไม่รู้

1. ข้อความที่ละไว้ เหมือนข้อ 22-24 2. อรรถกถาสูตรที่ 5-10 แก้ไว้ท้ายวรรคนี้.